บทความ (Articles)
-
ต้นแบบพาหนะสำหรับโชว์การทำอาหารหรูสไตล์ฝรั่งเศส
baPeugeot Design Lab แผนกรังสรรค์ผลิตภัณฑ์แห่งอนาคต และหน่วยงานสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ตราสินค้า หรือ Brand Image สาขาปารีส เผยโฉมต้นแบบรุ่นใหม่ในชื่อเรียบง่ายว่า Peugeot Food Truck Concept ใช้สำหรับเป็นภัตตาคารเคลื่อนที่ รวมทั้งสาธิตการทำอาหารหรูสไตล์ฝรั่งเศส หรือ French Cuisine การจัดแสดงมีขึ้นที่งาน 2015 Milan Design Week ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา
baชื่อเต็มของ Peugeot Food Truck Concept คือ "Le Bistrot du Lion" ตัวรถแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นรถตู้ฝาทึบสไตล์ Panal Van ส่วนที่ 2 เป็นรถพ่วงเพลาเดี่ยว ขนาดตัวใกล้เคียงกับส่วนแรก ภายในประกอบด้วยตู้เก็บความเย็นสำหรับอาหารสดขนาด 400 ลิตร ติดตั้งเอาไว้ใต้พื้น, ตู้แช่ 350 ลิตรแบบรักษาอุณหภูมิได้สำหรับเก็บความเย็นเครื่องดื่ม, เตาย่าง 2 เตา, เตาไฟฟ้า 4 เตา, ชุดทอดแบบน้ำมันท่วม 1 ชุด พร้อมระบบหมุนเวียนอากาศ และเครื่องชงกาแฟ Espresso Machine รุ่นโปรฯ จาก Rocket Espresso Milano
baในการออกแบบ Peugeot Design Lab มีการทำวิจัยร่วมกับ Euromag บริษัทผู้เชี่ยวชาญเรื่องการออกแบบ Food Truck สำหรับอาหาสไตล์ฝรั่งเศส เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริง และถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข สามารถรองรับการบริการได้ไม่น้อยกว่า 30 หัว นอกจากนี้ผู้ใช้บริการยังสามารถผ่อนคลายไปกับ DJ booth และสามารถชมการทำอาหารของเชฟได้แบบรีลไทม์ผ่านจอ LED ขนาด 46 นิ้ว พร้อมระบบซาวด์ซิสเต็มจาก FOCAL ที่จัดชุดลำโพงไฮเอนด์ 8 ตัว บวกทวีทเตอร์อีก 32 ตัว
baผู้ที่รับหน้าที่ในการโชว์การทำอาหารคือ เชฟอาหารฝรั่งเศสร่วมสมัย Sven Chartier แห่งภัตตาคาร Saturne และ Le Clown Bar จากกรุงปารีส เน้นการทำอาหารยุคใหม่ที่ผลิตจากการทำฟาร์มแบบออร์แกนิค ใครสนใจอยากเห็นตัวจริง และมีคิวไปเที่ยวยุโรป Peugeot Food Truck Concept จะไปจัดแสดงต่อที่งานมหกรรม 2015 Milan World's Fair ประเทศอิตาลี ซึ่งงานนี้จะจัดยาวถึง 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม จนถึง 31 ตุลาคม 2015 นี้ครับ
baปัจจุบันทีม Peugeot Design Lab มีสาขาอย่างเป็นทางการ 3 สาขา คือ ปารีส, เซี่ยงไฮ้ และ เซาเปาลู ออกแบบผลิตภัณฑ์ไฮเทคหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ สกูทเตอร์, จักรยานไฟฟ้า, อุปกรณ์การทำอาหาร, เฟอร์นิเจอร์ ไปจนถึงการออกแบบเรือยอชท์ หรือออกแบบระบบขนส่งอย่างรถรางไฟฟ้า •
เรื่อง: ARIA 54 • Tuesday, 21 April, 2015
ที่มา: http://www.motortrivia.com/ -
Food Truck หรือครัวเคลื่อนที่ คือยานพาหนะซึ่งเคลื่อนที่ไปตามจุดชุมชนต่างๆ เพื่อขายอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งมีตั้งแต่อาหารมื้อเช้า เที่ยง เย็น รวมไปถึงขนมคบเคี้ยว อาหารว่าง และทาโก้ (ขนมปังสัญชาติเม็กซิกัน) โดยธุรกิจครัวเคลื่อนที่นี้ได้รับความนิยมอย่างท่วมท้น โดยมีจำนวนราวๆ 3 ล้านคันในสหรัฐอเมริกา ซึ่งขับเคลื่อนไปตามห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟ สถานีรถบัส สนามบิน สนามกีฬา ศูนย์ประชุม และสถานที่อื่นๆ เพราะผู้คนในปัจจุบันมีเวลาจำกัดอันน้อยนิด จึงล้วนมองหาอาหารราคาไม่แพงนัก และ Food Truck ก็เสิร์ฟของแถมเป็นความหลากหลายของเมนูอาหารแบบตรงตามความต้องการของลูกค้าอย่างรู้ใจ
ต้นกำเนิดของ Food Truck เริ่มมาตั้งแต่ยุคหลังสงครามกลางเมืองอเมริกา ที่เกิดการขยายตัวสู่เขตพื้นที่ฝั่งตะวันตกอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นตลาดการค้าขายเนื้อสัตว์ต่างๆ ขนาดใหญ่ โดยเป็นที่นิยมอย่างมากในเท็กซัส Food Truck ฉบับดั้งเดิมเกิดขึ้นโดย Charles Goodnight (ชาร์ลส์ กู๊ดไนท์) ในปี 1866 ชาร์ลส์ต้อนฝูงสัตว์ เขาเล็งเห็นถึงความยากลำบากในการจะทำอาหารแต่ละมื้อในช่วงเวลาที่ต้องต้อนวัว และเมื่อเห็นว่ารถของกองทัพสหรัฐมีความแข็งแรงน่าจะนำมาประยุกต์ใช้งานได้ เขาจึงได้จัดการตกแต่งภายในรถด้วยชั้นวางของและลิ้นชัก เติมเต็มพื้นที่ด้วยภาชนะและเครื่องหุงต้ม พร้อมเพรียงด้วยเครื่องเทศ เครื่องเคียงสำหรับปรุงรส โดยอาหารที่เลือกบรรทุกไปยุคนั้นเป็นเพียงแค่ถั่ว กาแฟ ข้าวโพด และวัตถุดิบอื่นที่สามารถปรุงได้ง่าย ไม่มีอาหารจำพวกผักผลไม้สดหรือว่าเนื้อสัตว์แต่อย่างไร
จากยุคช่วง 1980 เริ่มมีรถบรรทุกอาหารออกเดินทางเพื่อจำหน่ายในช่วงเวลากลางคืน สำหรับแรงงานกะดึกในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์ก “The Owl” (เดอะ อาวล์) คือแบรนด์ผู้นำแบรนด์แรกๆ ที่ทำให้ธุรกิจ Food Truck เริ่มเป็นที่นิยมและมีวี่แววจะกลายเป็นธุรกิจต้นแบบจนถึงในปัจจุบัน
ที่มา : http://incquity.com/articles/food-truck -
จากภาพยนตร์เรื่อง “Chef” ที่หันกล้องกลับมาส่องธุรกิจอาหารแนวใหม่ เทรนด์ “Food Truck” เมืองไทยตอนนี้ก็เริ่มจะมาแรงไม่แพ้ใครเหมือนกัน อาหารติดล้อเหล่านี้ ดูจะเหมาะกับสภาพการใช้ชีวิตของคนเมืองเหลือเกิน ที่อะไรก็ต้องรีบ อะไรก็ต้องเร่ง เดี๋ยวนี้บางท่านบางคน เวลาจะนั่งทานข้าวกลางวันเงียบๆก็ยังไม่มี ต้องเดินไป ทำงานไป กินไป คุยกับลูกค้าไป … เอาเป็นว่าเรามาดูกันดีกว่า ว่า เทรนด์ “Food Truck” ที่กำลังมาแรงบ้านเราตอนนี้ มีใครอยู่ใน 10 แนวหน้าร้านอาหาร Food Truck เมืองไทยบ้าง
1. DANIEL THAIGER
ร้านเบอร์เกอร์สุดฮิบ ทำกันสดๆใหม่ๆทุกวัน ส่วนใหญ่ประจำอยู่ สุขุมวิท 3 โดยเป็นร้านอาหาร Food Truck ที่ขายเฉพาะเบอร์เกอร์สไตล์อเมริกัน เป็นร้าน Food Truck เจ้าแรกๆ ที่เปิดตัวมาแล้วได้รับความสนใจอย่างมากจากคนทั่วไป ไม่เพียงแค่อาหารอร่อยแล้ว แต่ยังมีราคาที่ไม่แพงอีกด้วย พอมีคนเริ่มบอกกันปากต่อปาก อินสตาแกรมต่ออินสตาแกรม และ เฟซบุ๊คต่อเฟซบุ๊ค ไม่นานก็มีแฟนตามไปกินกันเต็มไปหมด เรียกว่าดังเลยทีเดียวเชียวแหละ
ร้านอาหารอร่อยสุดเทพ ลูกค้าเพียง ขายดีขายหมดทุกวัน เพราะใช้เนื้อหมักอย่างดี และเลือกระดับความสุกได้เหมือนร้านอาหารทั่วไปเลย พร้อมขนมปังบริยอช กรอบนอกนุ่มใน อุ่นๆในมือ ราดซอสโฮมเมด แค่นี้ก็ … เดี๋ยวแว้บไปกินก่อนละกันนะ
2. MOTHER TRUCKER
ครั้งแรกที่เห็น อยากบอกว่าต้องหันกลับไปดูให้แน่ใจอีกรอบ (แล้วก็รู้ตัวว่าได้เวลาตัดแว่นใหม่ซักที) ตาดีเห็นดี ตาร้ายเห็นเป็น … นะ แต่ว่าเป็นสิ่งที่โดนใจอีกอย่างที่เจ้าของร้านคิดชื่อได้โดนใจ จำง่าย เห็นแล้วต้องหันกลับมามองอีกรอบ ให้แน่ใจว่าดูผิด
กินเบอร์เกอร์อร่อยหนำใจจาก Mother Trucker ก่อนแล้วค่อยเข้าไปกินไอติมต่อได้เลยว่างั้น เบอร์เกอร์ร้านนี้ มีน้ำหนัก 150 กรัม เนื้อหมักนุ่มๆ หอมอร่อย พร้อมหอมทอดกรอบๆแทรกกลาง ประกบผักสดกรอบ พร้อมขนมปังนุ่มในกรอบนอก แล้วนำไปอบจนนุ่มในกรอบนอก หอมมมมม อย่าบอกใคร
ร้านนี้ส่วนใหญ่จอดประจำการอยู่ถนนข้าวสาร ใกล้ร้านสเวนเซ่นส์ หรือ หลังห้างนิวเวิรด์ เรียกได้ว่าตำแหน่งดี หรือ อาจจะพบได้ตามงาน Outdoor Market ต่างๆ อีกด้วย สามารถคอยดูอัพเดทสถานที่จอดได้ที่เพจเฟซบุ๊คของร้านได้เลยนะจ้า
3. ORN THE ROAD BURGER
ใครรักใครชอบเบอร์เกอร์ก็ไม่ควรพลาด (ทำไมไม่มีใครทำอาหารอย่างในเรื่อง “Chef” มั่ง ของในทีวีดูน่ากินโคตะระ) ร้าน “ออน เดอะ โร้ด” สมชื่อ ส่วนใหญ่จะหมกอยู่ที่ปากซอยทองหล่อ 11 (เลย Third Place ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามประมาณ 10 เมตร) เปิดให้บริการอาหารอร่อยๆวันอังคาร – เสาร์ช่วงเย็นถึงดึก
เมนูที่นำเสนอเป็นเบอร์เกอร์สไตล์อเมริกัน อร่อยไม่แพ้ร้านอาหารหรู มีสองขนาด ใหญ่ กับ ยักษ์ เอ้ย! ขนาด Regular กับขนาด Executive สนนราคาก็อยู่ที่ประมาณ 120-220 บาทตามขนาดไป
ใครชอบใครรักเบอร์เกอร์ อันนี้ก็ต้องลอง รับรองว่าเบอร์เกอร์ที่นี่ก็อร่อยสะใจไม่แพ้ใคร
4. CHEESE BREAK BKK
แซนด์วิชชิ้นมหึมา สไตล์อเมริกันแท้ๆ มาพร้อมรถกระบะคันเล็กที่ดัดแปลงเป็นห้องครัวห้องน้อยๆ ขายอาหาร Street Food สไตล์อเมริกัน มีกระทะ สรรพสิ่ง ของดีของอร่อยมากมาย อาหารอร่อย มีชีสเยิ้มๆ ขนาดใหญ่ ชิ้นเดียวอิ่มไปได้ทั้งวัน พ่อครัวเป็นคนอเมริกันแท้ รับประกันความอร่อยอย่างนิวยอร์คแท้ๆ มีทั้งมักกะโรนี หอมใหญ่ หมู เนื้อ ไก่ คุณสามารถเลือกได้ด้วยตัวเองว่าอยากใส่อะไรบ้าง แถมแต่ละสัปดาห์ยังจะมีของดีของใหม่สุดพิเศษมาให้เลือก อัพเดทเมนูพิเศษได้ทุกสัปดาห์ที่เฟซบุ๊คเพจของร้าน
ส่วนใหญ่ร้านตั้งอยู่ JJ Green Night Market จตุจักร ตรงข้ามสวยรถไฟ
5. SUMMER STREET
กระบะ พร้อมซีฟู้ดข้างทาง เกิดขึ้นจากการรวมหัวของเพื่อนซี้ 3 คนที่เป็นดีไซน์เนอร์ อารต์ ไดเรคเตอร์ จนออกมาเป็นร้าน Summer Street ครึ่ง Food Truck ครึ่งซุ้มขายอาหารเพราะนำท้ายกระบะมาปรับแปลงเป็นตัวร้านอาหารให้ลูกค้าได้ปิ้งย่างกันเอง แล้วนั่งแกะกุ้งหอยปูปลากินกันอย่างเมามัน ทีเด็ดคือ น้ำจิ้มซีฟู้ดรสเด็ด ที่มีลูกค้ามากมายยืนยันว่า “สด” จริงอะไรจริง ทำจากพริกเขียวดำที่เข้ากันได้ดีกับอาหารซีฟู้ด ผงชูรสไม่ได้แตะ อาหารทะเลสด สะอาด ประมาณว่าเหมือนนั่งกินข้างทะเลก็ไม่ปานเลยทีเดียว
ประจำการ อารีย์ ซอย 2 ใกล้ BTS สถานีอารีย์ เปิดบริการจันทร์ – เสาร์ บ่ายถึงดึก
6. KOFUKU JAPANESE SANDWICH THE SCENE TOWN IN TOWN
สไตล์อเมริกันเยอะแล้ว หันมาดู ญี่ปุ่น Food Truck กันบ้างดีกว่า ร้าน Food Truck ฉบับญี่ปุ่น แบบฉบับโตเกียว ขายแซนด์วิชใส้หมูทอดทงคัตสึ แซนด์วิชไก่คาราอาเกะ กุ้งพันแซนด์วิช พร้อมข้าวหน้าต่างๆ สไตล์ญี่ปุ่นแท้ หอมมม อร่อยย ไม่แพ้ร้านอาหารญี่ปุ่นใหญ่ๆในห้างเลยทีเดียว เพิ่มท้อปปิ้งได้ในราคา 20 บาท มากินแล้วได้ฟิลเหมือนนั่งกินที่โตเกียว
สถานที่ประจำการ เดอะซีน ถ. ศรีวรา เปิดตั้งแต่ หกโมงเย็นถึงตีหนึ่ง
7. AMITY COFFEE
ร้านกาแฟน้อยๆ ที่รสชาติไม่น้อยเหมือนร้าน ชาโฮจิฉะเย็น อร่อยเข้มเต็มรสชาคั่ว หาได้ที่ร้าน Amity Coffee เป็น Coffee Truck เต็มคราบ โดยเจ้าของได้ดัดแปลงรถกระบะให้กลายเป็นร้านกาแฟเคลื่อนทีเต็มตัว พร้อมบริการกาแฟคั่วรสชาติเข้มข้น หอมกรุ่นให้กับลูกค้าได้ทุกที่ ทุกท่าน ทุกเวลา ใช้กาแฟคุณภาพเริ่ด จาก Abstract Coffee ทั้งหอมทั้งเข้ม มาพร้อมเมนูเคียงสำหรับคนไม่ดื่มกาแฟ คือ ชาเขียวคั่ว โฮจิฉะ สุดอินเทรนด์
วันออกประจันบาล จันทร์, อังคาร, พฤหัส, ศุกร์ และเสาร์ ซอยปรีดีพนมยงค์ 40
8. NUTELLA FRENCH CREPES
หิวเครป กินเครปสารพัดเมนูได้โดยใช้ นูเทลล่า วันนี้พามาบุกเชียงใหม่แทน กับร้าน “Crapes Truck” เจ้าดังแห่งเมืองเชียงใหม่ นอกจากจะโดดเด่นด้วยการขายเครปบนกระบะตกแต่งใหม่ เมนูทีเด็ดคือ “Nutella French Crepes” ครีมช็อกโกแลตผสมเฮเซลนัทสุดแสนอร่อย (ที่ผู้เขียนชอบกินเป็นขนม >0< ประจำ) มีเครปให้เลือกสองระดับราคา 50 บาทกับ 60 บาทสุดพิเศษ เนย น้ำตาล มะนาว กล้วย นมข้น นูเทลล่า อร่อยสุดยอด ใครรักใครชอบนูเทลล่า อย่าพลาดนะจ้ะงานนี้
ประจำการ ถ.ราชดำเนิน ตอนกลางวัน อยู่ข้างศุนย์ Honda ช่วยเย็น
9. COCKTAIL CAR
ไหนๆก็อยู่เชียงใหม่แล้ว ไปนั่งจิบค็อกเทลเก๋ๆ รินถนนกันดีกว่า กับ “Cocktail Truck” ในเมืองเชียงใหม่ นั่งชมวิวไปพลาง จิบค็อกเทลอร่อยๆไปพลาง ไม่มีอะไรดีกว่านี้อีกแล้ว นั่งชมวิว มองดูผู้คนที่เดินผ่านไปมา เพลินไปกับแสงสีของเมืองเชียงใหม่ ด้วยรถตู้ดัดแปลงให้เป็นบาร์ขนาดย่อม ริมถนน ให้อารมณ์ไปอีกแบบเหมือนกัน แถมราคาไม่แพงอีกด้วย
ประจำการ ถ.ราชภาคินัย เมืองเชียงใหม่
10. HIP HOT DOGS & BURGERS
กลับมาดูร้านฮอตด็อก และ เบอร์เกอร์อีกครั้งดีกว่า เปิดตัวใหม่กับร้าน “Hip Hot Dogs & Burgers” ร้านฮอตด็อกและเบอร์เกอร์ขนานแท้ แปรรูปมาจากรถกระบะขนาดกลาง มีรูปแบบเดียวกันกับ Food Truck ขายทั้งฮอตด็อก เบอร์เกอร์ ชีสเบอร์เกอร์ ชีสแอนด์เบคอน เบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟราย และเมนูอร่อยๆอีกหลายต่อหลายอย่าง ทุกเมนูเมดทูออร์เดอร์ทำสดใหม่ ตามสั่งบนเตาทอด ทีเด็ดคือใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศที่เจ้าของร้านไปสรรหามาด้วยตัวเองเลยทีเดีนว
ประจำการประจำที่ Vintage Car Market (ตลาดนัดรถโบราณ โครงการบ้านสีลม ซ. สีลม 19)เปิดทำการพุธ-ศุกร์ช่วยเย็นถึงดึก
ใครรัก ใครชอบอะไร ก็ไปแวะไปลองกันนะจ้ะ ตอนนี้ตัวผู้เขียนขอตัวก่อนละ (หิว)
ที่มา : http://fwd.co.th/articles/สุดยอด-food-truck-เมืองไทย
-
นี่คือกิมมิคเล็กๆ ที่ยักษ์ใหญ่สีฟ้า “IBM” พยายามส่งสารให้โลกรู้ว่างานวิจัยเทคโนโลยีเหนือชั้นที่ IBM มีสามารถยกระดับชีวิตของทุกคนได้ ล่าสุด IBM โชว์รถบรรทุกปรุงอาหารที่สามารถเสกเมนูใหม่จากสูตรพิเศษที่ “คอมพิวเตอร์” เป็นคนสร้างสรรค์หรือ generate ขึ้นมา
IBM จับมือกับสถาบัน Institute of Culinary Education เพื่อสาธิตให้โลกเห็นว่า พลังการสร้างสรรค์ของมนุษย์จะถูกยกระดับเมื่อได้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ระดับเทพ โดย IBM สร้างสรรค์โปรแกรมสร้างสูตรอาหาร ซึ่งถือเป็นหนึ่งในส่วนงานวิจัยที่ IBM ให้ชื่อโครงการในภาพรวมว่า “computational creativity”
ในวิดีโอ IBM และสถาบัน ICE ระบุว่าพ่อครัวจะต้องกรอกวัตถุดิบหลักที่ต้องการปรุงลงในระบบ จากนั้นระบบจะศึกษาและเสนอวัตถุดิบรอง ที่จะช่วยจับคู่วัตถุดิบนั้นให้เกิดเป็นเมนูใหม่ที่ทำให้ผู้รับประทานได้ลิ้มลองรสชาติใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน
การศึกษาเพื่อเสนอวัตถุดิบรองของระบบจาก IBM นั้นไม่ได้เกิดขึ้นแบบไร้แนวทาง แต่ทีมวิจัยของ IBM ใช้การวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์อาหาร ซึ่งทำให้การจับคู่วัตถุดิบมีเปอร์เซ็นต์ความเข้ากันได้สูง
ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ที่ตัดสินใจว่าจะใช้วัตถุดิบที่ระบบจับคู่มาให้หรือไม่นั้น คือพ่อครัวผู้ปรุง ซึ่งอาจจะตัดสินใจเพิ่มวัตถุดิบอื่นตามที่ระบบแนะนำเพิ่มหรืออาจเลือกตัดวัตถุดิบบางส่วนออกไปตามประสบการณ์
ระบบสร้างสูตรอาหารดิจิทัลนี้ถูกติดตั้งครั้งแรกในรถบรรทุก IBM Food Truck ซึ่ง IBM นำไปโชว์ตัวที่งานประชุม IBM Pulse ที่ลาสเวกัส โดยในครั้งนั้นระบบได้ทำให้เชฟเสริมจานพิเศษแก่ผู้ร่วมงานทั้งพายแอปเปิลบอลติก Baltic Apple Pie, เกี๊ยวกุ้งผสมเนื้อแกะ Creole Shrimp-Lamb Dumplings, และเบอร์ริโตช็อคโกแล็ต Austrian Chocolate Burrito
รายงานระบุว่า IBM Food Truck จะโชว์ตัวอีกครั้งที่งาน South by Southwest ซึ่งจะจัดที่เมืองออสติน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ช่วงกลางปีนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามวิดีโออธิบายแนวคิดของระบบนี้จาก IBM ได้ที่ด้านล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=mr-1JAnairs&feature=youtu.be
ที่มา : http://thumbsup.in.th/2014/03/computer-generated-food-truck/ -
รถบรรทุกดัดแปลงเป็นร้านขายอาหารเคลื่อนที่กำลังเป็น Trend การกินอาหารรูปแบบใหม่ที่เริ่มขยายตัวในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนอกจากกรุงเทพแล้ว กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซียก็เป็นอีกเมืองหนึ่งในภูมิภาคที่มี Food Truck ให้บริการนักชิมและมีอยู่ในปริมาณมากจนอาจเรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงแห่ง Food Truck ในเอเชียตะวันออกเฉียงเลยทีเดียว
Trend การบริโภคอาหารที่มีต้นแบบมาจากในสหรัฐฯและชาติตะวันตกนี้เริ่มเข้ามาในประเทศเพื่อนบ้านทางภาคใต้ของไทยเมื่อราว 2 ปีก่อนและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2014 มี SpagMe ,RoyalPost และ La Famiglia เป็น 3 ผู้ประกอบการชื่อดัง โดยย่านที่มี Food Truck จอดอยู่มากสุดคือ Klang Vallay ชานกรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่วนเมนูยอดฮิตคือสปาเก็ตตี้ ชา-กาแฟ และทาโก้ ซึ่งจากอายุเฉลี่ยของกลุ่มผู้ประกอบการที่ระหว่าง 30-40 ปีและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการดัดแปลงรถซึ่งถูกกว่าการไปซื้อห้องแถวเพื่อเปิดร้านอาหารหลายเท่า ทำให้ชาวมาเลย์รุ่นใหม่มองว่านี่คือธุรกิจในฝันเพื่อการสร้างตัวที่นอกจากมีโอกาสเติบโตแล้ว ยังดูเท่ห์และสามารถทำร่วมกับเพื่อนฝูงได้อีกด้วย
มีการวิเคราะห์กันว่า ความเป็นอิสระจากรถที่สามารถขับไปไหนก็ได้ การอยากมีกิจการเป็นของตัวเอง เครือข่ายสังคมออนไลน์ และการถ้อยทีถ้อยอาศัยในกลุ่มผู้ประกอบการเป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้ Food Truck ในแดน “เสือเหลือง” ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทว่ายังต้องดูกันต่อไปว่า Trend นี้จะยืนระยะไปได้นานแค่ไหนเพราะปัจจุบันทางการมาเลย์ยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่า Food Truck เป็นธุรกิจประเภทใด ทำให้ผู้ประกอบการยังไม่มีใบอนุญาตจนต้องเลือกเอาว่าจะย้ายร้านไปเรื่อยๆหรือ “จ่ายส่วย” ให้เจ้าหน้าที่กังฉินเพื่ออยู่ประจำเป็นหลักแหล่ง
ที่มา : timeout.com ,thestar.com -
ในสังคมอเมริกันที่ราคาค่างวดในการการกินอาหารตามร้านหรือภัตตาคารแต่ละครั้งสูงใช่ย่อย ในขณะที่ผู้คนที่มีรายได้ไม่มากต้องการบริโภคอาหารราคาประหยัด ไม่ต้องจ่ายค่าทิป อาหารมีคุณภาพดี และสะดวกต่อการรับประทานภายใต้วิถีชีวิตที่รีบเร่งของคนเมือง วิถีการกินแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมจึงเกิดขึ้น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศ.ดร.วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน จากภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยบราวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มาบรรยายพิเศษทางคติชนวิทยาเรื่อง "Foodscape...พื้นที่อาหาร" ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ศ.ดร.วรรณี เล่าถึงปรากฏการณ์ใหม่ทางด้านอาหารที่เพิ่งเกิดขึ้นในพื้นที่มหาวิทยาลัยบราวน์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาคือ Food Truck หรือรถตู้ขายอาหาร เป็นยานพาหนะซึ่งเคลื่อนที่ไปตามจุดชุมชนต่าง ๆ เพื่อขายอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งมีตั้งแต่อาหารมื้อเช้า เที่ยง เย็น รวมไปถึงขนมขบเคี้ยว อาหารว่าง
โดยปกติรถจะขับไปจอดขายตามแหล่งที่ผู้คนพลุกพล่าน เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟ สนามบิน สนามกีฬา ศูนย์ประชุม และสถานที่อื่น ๆ เพราะผู้คนในปัจจุบันมีเวลาจำกัดน้อยนิด จึงมองหาอาหารราคาไม่แพงนัก แถม Food Truck ยังมีความหลากหลายของเมนูอาหารตรงตามความต้องการของลูกค้า
Food Truck จึงเป็นตัวเลือกด้านอาหารการกินที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ
โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยบราวน์ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Providence รัฐ Rhode Island ศ.ดร.วรรณีเล่าว่า ขณะนี้มีนักเรียนจากหลากหลายชาติมาเรียนมากขึ้น รวมถึงคนอเมริกันเชื้อสายอื่น ๆ เช่น จีน เกาหลี เม็กซิกัน
...คนกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มลูกค้าของรถตู้ขายอาหาร
ที่สำคัญ ในอเมริกา การไปกินในร้านอาหารหรือภัตตาคาร นอกจากราคาค่อนข้างสูงแล้ว จะต้องมีค่าทิปอย่างน้อย 15-20% ด้วย
และสำหรับมหาวิทยาลัยบราวน์ นักศึกษาที่อยู่ในหอพัก ส่วนหนึ่งจะถูกให้เซ็นสัญญาทานอาหารของมหาวิทยาลัย ซึ่งค่อนข้างแพง ขณะที่อาหารแบบอเมริกันก็รู้กันว่าน่าเบื่อ ถ้านักศึกษาคนนั้นเป็นชาวต่างชาติ การได้ซื้ออาหารนานาชาติหรือจากชาติของตนจากรถตู้ขายอาหาร จึงกลายเป็นสิ่งน่าลิ้มลอง...
“สังคมอเมริกันเปลี่ยนไปมาก สมัยหลัง ๆ มานี้นิยมทานมื้อกลางวันนอกบ้านมากขึ้น ชาวอเมริกันผิวขาวทั่วไป เวลาที่มาอุดหนุนอาหารพวกนี้ ก็ถือเป็นโอกาสได้ลองชิมรสชาติอาหารนานาชาติ (A Taste of The world) สอดคล้องกับแนวความคิดสมัยใหม่โลกาภิวัตน์ที่ว่า โลกแคบลง ไม่ต้องเดินทางไปประเทศอื่นก็สามารถชิมอาหารของประเทศนั้น ๆ ได้”
ลักษณะของ Food Truck คือ คนขับรถกับคนทำอาหารเป็นคน ๆ เดียวกัน และเป็นเจ้าของรถด้วย ตัวรถจะมีการแต่งให้สวยงาม เช่น รถตู้ขายอาหารที่ชื่อว่า Ma Ma Kim เป็นร้านอาหารเกาหลี ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนเอเชีย
นอกจากนี้ คนเป็นพ่อค้าจะต้องมีความรู้ และจิตวิทยาด้านการตลาดพอควร เพราะนอกจากจะต้องปรับรถตู้ให้มีสภาพคล่องตัวต่อการทำและขายอาหารแล้ว จะต้องหาวิธีการดึงดูดใจลูกค้าใหม่ ๆ เช่น ทำเมนูอาหารปิดไว้ด้านหน้า นอกจากจะบอกว่าขายอาหารอะไรแล้ว เขาจะวงเล็บไว้ด้วยว่า มีอะไรเป็นเครื่องปรุงบ้าง เพราะคนที่รับประทานมังสวิรัติจะได้รู้ว่า มีเนื้ออยู่ในอาหารจานนี้หรือเปล่า เป็นวิธีการเอาใจลูกค้าอีกแบบหนึ่ง
ลักษณะที่สำคัญอีกอย่างของกิจกรรมการบริโภคแบบ Food Truck ก็คือ เป็นการขายอาหารที่ผู้ขายมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับลูกค้าตัวต่อตัว คนขายกับคนซื้อสามารถเจรจาสังสรรค์กันได้ ไม่เหมือนการกินอาหารตามร้านค้าที่จะมีพนักงานเสิร์ฟ ซึ่งลูกค้าไม่อาจทราบได้ว่า ใครเป็นเจ้าของร้าน
ในประเด็นนี้ ศ.ดร.วรรณีเห็นว่า มีนัยยะสำคัญเชิงสังคม-วัฒนธรรม
ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ขายอาหารรถตู้ก็มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันที่น่าสนใจด้วย โดยพบว่า ผู้ขายมีการร่วมมือซึ่งกันและแทนที่จะแข่งขันกันอย่างเดียว จากการพูดคุยพบว่า คนที่ขายอาหารฝรั่งเศสจะดีใจที่มีรถตู้ของอาหารชาติอื่น ๆ มาจอดขายข้าง ๆ เพราะจะทำให้บรรยากาศของการขายอาหารในบริเวณนั้นสนุกและมีความหลากหลายมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น Food Truck ในวันนี้ยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารยอดนิยม โดยผู้บริโภคสามารถติดตามการย้ายจุดจอดต่างๆ ของ Food Truck ที่ชื่นชอบได้ทาง twitter และ facebook fanpage
นอกจากนี้ Food Truck ยังอัพเดตเมนูใหม่ ๆ ให้ติดตามผ่านทางสื่อออนไลน์อีกด้วย ส่วนเจ้าของรถตู้ก็ติดต่อระหว่างกันด้วยวิธีการเดียวกัน เช่น รถตู้อาหารเกาหลีมาจอดขายที่ใดที่หนึ่งแล้ว ก็ส่งข้อความไปบอกรถตู้เจ้าอื่นว่ามาถึงแล้ว หรือมีใครมาบ้าง ทำให้เกิดการชักชวนกันมา
ในแง่ธุรกิจ Food Truck เป็นธุรกิจที่มีต้นทุนค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบคนที่เปิดร้านอาหาร ซึ่งพวกร้านอาหารที่เปิดในมหาวิทยาลัยบราวน์ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 2,000 เหรียญต่อเดือน และการที่ Food Truck จะสามารถเข้ามาทำการค้าขายพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ก็ต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายอนุญาตด้วย
ซึ่งขณะนี้มีข่าวว่า ส่วนราชการของกรุงวอชิงตันกำลังตัดสินใจเรื่องกฎหมายที่จะใช้ควบคุมพื้นที่ที่ Food Truck สามารถทำการได้ โดยร้านอาหารและภัตตาคารในกรุงวอชิงตันจ่ายเงินจำนวน 60-70 เหรียญสหรัฐต่อตารางฟุตสำหรับการได้พื้นที่ในการทำธุรกิจที่ดีที่สุด
ในขณะที่ Food Truck จ่ายค่าจอดรถเพียงแค่ 12 เหรียญสหรัฐต่อตารางฟุตเท่านั้น นั่นจึงทำให้เส้นทางของ Food Truck ไม่ได้ราบรื่น !!
เมื่อเหล่าบรรดาร้านอาหารและภัตตาคารต่างก็ออกมายอมรับว่า Food Truck ได้บั่นทอนธุรกิจของพวกเขาอย่างยากจะปฏิเสธ
เจ้าของร้านค้าแห่งหนึ่งในลาสเวกัสเล่าว่า รถร้านค้าเหล่านี้ขายของตัดราคาต่ำกว่าร้านของเธอถึงเท่าตัว เธอจึงสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายเพื่อขัดขวางการเข้ามาของ Food Truck จากการจอดนานกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน และห่างจากร้านอาหารเพียงแค่ 15 เมตร
แต่ไม่ใช่ทุกเมืองที่จะประสบความสำเร็จในการจัดระเบียบด้วยกฎหมายดังตัวอย่างข้างต้น เมื่อร้าน ๆ หนึ่ง ในเท็กซัสล้มเหลว ผู้เชี่ยวชาญจึงให้ความเห็นว่า กรณีนี้สะท้อนถึงความสนใจของผู้คนในเมืองที่มีต่อการเติบโตของกลุ่ม Food Truck ว่า มีความพึงพอใจเพิ่มมากยิ่งขึ้นต่อธุรกิจครัวเคลื่อนที่นี้ พวกเขามีจำนวนมาก
นั่นแสดงว่า Food Truck เป็นที่นิยมจริง ๆ
มีข้อมูลจากบางส่วนจาก INC Quity.com เว็บไซต์คู่มือสำหรับผู้ประกอบกิจการระบุว่า ในบอสตันมีจำนวน Food Truck เกิดขึ้นถึง 38 คัน เพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิมเพียง 17 คันในช่วงปีที่ผ่านมา หรือแค่ 6 คันในปี 2010 ในเซนต์หลุยมีจำนวน 39 คัน เพิ่มขึ้นจาก 14 คันในปีที่แล้ว จากจำนวนเป็นศูนย์เมื่อปี 2010
ศ.ดร.วรรณีเล่าอีกว่า ที่เมือง Providence เคยมีกรณีขัดแย้งระหว่างร้านขายอาหาร Better Berger Company (BBC) กับ Food Truck จนเป็นเรื่องเป็นราวทางหน้าหนังสือพิมพ์มาแล้ว
โดยเจ้าของร้าน BBC ซึ่งเป็นคนค่อนข้างก้าวร้าวได้กล่าวหาว่า พวกอาหารรถตู้ไปจอดบังร้านค้า
แต่เจ้าของ Food Truck เคยให้สัมภาษณ์ว่า พวกเรารู้จักกันอยู่ 4-5 เจ้า อยู่อย่างร่วมมือกัน และเข้าใจคนอื่น ไม่คิดจะแย่งลูกค้าจากร้านด้วยวิธีเช่นนั้น จึงไม่เคยเอารถไปจอดบังหน้าร้านอย่างที่ถูกกล่าวหา และในความเห็นของเขา อาหารขึ้นอยู่กับความพอใจของคน ว่าจะเลือกซื้อ เลือกกินอะไร
เรื่องราวดังที่ ศ.ดร.วรรณีได้เล่าจากประสบการณ์ตรงดังกล่าวนี้ ได้ทำให้เห็นภาพ "พื้นที่อาหาร" และการพัฒนาของการตลาดด้านอาหารที่น่าสนใจในสังคมอเมริกัน ว่า บัดนี้รถตู้ขายอาหารเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมเมือง ซึ่งมีหลายปัจจัยร่วม มองได้ทั้งจากแง่มุมผู้ซื้อ หรือลูกค้า และมุมคนขาย ว่าทำไมถึงกระโดดลงมาทำกิจการแบบนี้ และมีวิธีที่จะเรียกลูกค้าอย่างไร
แต่สำหรับเมืองไทยแล้ว เราคงคุ้นชินกับพฤติกรรมการกินอาหารเช่นนี้ดี
เพราะดูท่าจะคลับคล้ายคลับคลากับหาบเร่แผงลอย หรือรถเข็นขายอาหารบนฟุตบาททั้งหลาย ที่ไม่ต้องเคลื่อนที่เหมือน Food Truck แต่มีอยู่ทั่วถนนทุกสายและทุกตรอกซอกซอยให้เราเลือกบริโภค แม้เราจะอิ่มท้องในราคาที่ถูก แต่การทำมาหากินบนการยึดครองฟุตบาทซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะอย่างแทบจะถาวรเช่นนี้ ก็เป็นปัญหาที่ควรจะแก้ไขเช่นกัน!
ที่มา: http://www.isranews.org/thaireform-doc-health/item/18711-Food-Truck.html
-
แบบสอบถามนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนประกอบในการทำภาคนิพนธ์ บธ. 8900 วิชาค้นคว้าอิสระ โครงการ ธุรกิจบูรณาการ ของนักศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ความต้องการ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพประเภทสลัด ที่ให้บริการในรูปแบบของร้านอาหารเคลื่อนที่
กรุณาคลิกที่รูปด้านบนเพื่อตอบแบบสอบถาม -
ร้านอาหารริมทาง เป็นสิ่งที่คนกรุงต่างคุ้นชินกันเป็นอย่างดี และร้านอาหารที่ทั้งสะดวกและรวดเร็วจำพวกนี้ก็ถูกการันตีคุณภาพจากเว็บไซต์ Forbes และ NY Daily News ที่จัดอันดับให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีอาหารริมทางที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2012
ในปัจจุบัน ร้านอาหารริมทางรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "Food Truck" ซึ่งมีคนให้คำจำกัดไว้หลายอย่าง เช่น "ครัวเคลื่อนที่" , "รถขายอาหาร" กำลังเป็นที่แพร่หลายและได้รับความนิยม และภาพของร้านอาหารแบบ Food Truck ก็ถูกทำให้เข้าใจมากขึ้นผ่านภาพยนตร์เรื่อง "Chef" ซึ่งออกฉายในปี 2014 นำเสนอเรื่องราวของพ่อครัวที่ถูกไล่ออกจากร้านอาหารเพราะไม่ยอมทำอาหารตามที่ลูกค้าสั่ง จึงเป็นจุดเปลี่ยนให้เขาสร้างธุรกิจของตัวเองด้วยการขายอาหารบน Food Truck ขับไปขายตามเมืองต่างๆ โดยมีลูกชายของพ่อครัวที่ช่วยโปรโมทร้านผ่านทางสังคมออนไลน์
งั้นเรามาทำความรู้จักกันว่า Food Truck คืออะไร
Food Truck เป็นร้านอาหารบนยานยนต์ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับปรุงและขายอาหารอย่างครบครัน โดยจะเป็นอาหารที่ปรุงง่ายๆ อย่างเช่น แฮมเบอร์เกอร์ ฮอทดอก แซนด์วิช จนกระทั่งเครื่องดื่มและของหวาน อย่างกาแฟ ไอศกรีม โดย Food Truck จะเคลื่อนที่ไปขายตามเมือง หรืองานเทศกาลต่างๆ แต่สำหรับ Food Truck ในเมืองไทยจะมีที่ตั้งประจำ บางครั้งอาจไปขายตามงานเทศกาลตามแต่โอกาส
ประวัติความเป็นมาของ Food Truck
เว็บไซต์ INC Quality กล่าวว่า Food Truck เกิดขึ้นในปี 1866 จากความคิดของ Charles Goodnight ที่ต้องการทำอาหารในช่วงเวลาทำงานต้อนวัว เขาจึงดัดแปลงรถของกองทัพสหรัฐฯ ด้วยตกแต่งภายในด้วยชั้นวางของและลิ้นชัก สำหรับเก็บภาชนะ เครื่องหุงต้ม เครื่องปรุงรส เครื่องเทศ จนกระทั่ง Food Truck กลายเป็นธุรกิจขึ้น เมื่อ "The Owl" คือแบรนด์แรกๆ ที่ทำให้ Food Truck ได้รับความนิยม ซึ่งในปัจจุบันมี Food Truck ราวๆ 3 ล้านคันในสหรัฐอเมริกา
Food Truck แบบออริจินัล เป็นรถที่ขับไปขายอาหารตามสถานที่ต่างๆ ทั้งห้างสรรพสินค้า สนามบิน สถานีรถไฟ สนามกีฬา หรือแม้แต่หน้าร้านอาหารของคนอื่น จนทำให้ผู้ประกอบการบ่นว่า Food Truck เข้ามาสร้างความยุ่งยากให้แก่ธุรกิจร้านอาหาร ดังเช่นที่ Camy Silva หุ้นส่วนร้าน El Gaucho Café ที่ Las Vegus กล่าวว่า "พวกเขาจะมาในช่วงชั่วโมงที่พวกเรากำลังยุ่งที่สุด และจอดรถนั่นไว้ตรงหน้าร้านของเรา" ขณะที่สามีของ Camy Silva กล่าวเสริมว่า "เราทำการตลาดและลงทุนโฆษณากันอย่างหนักเพื่อดึงดูดผู้คนเข้าร้าน แต่ Food Truck ก็มาอาศัยประโยชน์จากสิ่งที่เราลงแรงทำกันไป"
และด้วยความที่ Food Truck ไม่หยุดขายที่ใดที่หนึ่งประจำ ทำให้เจ้าของร้านต้องสร้างช่องทางการสื่อสารกับลูกค้าที่ต้องการจะรับประทานอาหารของพวกเขาผ่านทางสังคมออนไลน์อย่างFacebookTwitter หรืออื่นๆเพื่อคอยอัพเดตว่า วันนี้มีเมนูอะไรบ้าง หรือ Food Truck จะขับไปขายที่ไหน จึงเป็นภาพสะท้อนของธุรกิจร้านอาหารที่เดินเคียงคู่มากับเทคโนโลยีการสื่อสมัยใหม่
Food Truck กำลังได้รับความนิยมในเมืองไทย
เเม้ว่า Food Truck จะมีในต่างประเทศมานานแล้ว แต่ในเมืองไทยยังเป็นสิ่งใหม่อยู่ ขณะเดียวกันธุรกิจนี้ก็มีแนวโน้มว่าขยายตัวมากขึ้น สังเกตจากร้าน Food Truck ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในกรุงเทพฯ ราคาอาหารของ Food Truck แม้จะสูง แต่ก็เป็นที่ถูกอกถูกใจคนเมือง เพราะ Food Truck มีภาพลักษณ์ของการเป็นร้านอาหารที่ทันสมัย เป็นไลฟ์สไตล์แบบตะวันตก มองดูโก้เก๋เเบบฉบับที่คนเมืองโหยหา ที่สำคัญ คือการตอบโจทย์ชีวิตอันเร่งรีบได้เป็นอย่างดี
สำหรับร้าน Food Truck ในกรุงเทพฯ ที่มีชื่อเสียงก็อย่างเช่น ร้าน "Mother Trucker" ขายแฮมเบอร์เกอร์ ประจำการอยู่ที่ถนนข้าวสาร , ร้าน "Orn The Road Burger" ซึ่งมีจุดเด่นที่เบอร์เกอร์ชาร์โคล หรือเบอร์เกอร์ถ่าน ประจำการอยู่ที่ปากซอยทองหล่อ 11
ใช่เพียงอาหารตะวันตกเท่านั้น Food Truck ในกรุงเทพฯ ยังพัฒนามาขายอาหารชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น ร้าน "Summer Street" เป็นร้านอาหารทะเลสดๆ สำหรับปิ้งย่างพร้อมกับจิบเบียร์เย็นๆ , ร้าน "Kofuku Japanese Sandwich The Scene Town In Town" ขายอาหารสไตล์ญี่ปุ่น แม้แต่อาหารไทยก็มีขายบน food truck ด้วย นั่นคือ ร้าน "ผัดไทย หอยทอด" บริเวณ BTS ราชเทวี ซึ่งลูกค้ามีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา Food Truck ในเมืองไทย ถูกตอกย้ำกระแสความนิยม เมื่อในงานเทศกาลพิเศษต่างๆ เริ่มให้ร้าน Food Truck มารวมตัวกัน เพื่อประชันความอร่อยเด็ดและเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละร้าน เช่นในงาน "เทศกาลอาหารและดนตรี Flavor Food Fest ครั้งที่ 1" , งาน "กินซ่า...บ้าช้อป Food Festival" จัดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ , งาน "Food Truck Festival" จัดเมื่อเดือนมีนาคม หรือล่าสุดในงาน "Indy Market x Food Truck" จัดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เเละคาดว่า Food Truck เหล่านี้จะเดินหน้าไปพร้อมกับงานเทศกาลพิเศษในปีต่อๆไป
การรับประทานอาหารที่ Food Truck กลายเป็นไลฟ์สไตล์ใหม่ของคนเมือง หากใครไม่ต้องการจะตกเทรนด์ Food Truck ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย
ที่มา: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435819735&grpid=03&catid=03 -
ปัจจุบันกระแสธุรกิจร้านอาหารเคลื่อนที่หรือ Food Truck ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและบูมขึ้นมากในบ้านเรา แต่จริงๆแล้วกระแสนี้ฮิตมานานก่อนแล้วที่อเมริกา เนื่องจากที่โน่นผู้คนต่างใช้ชีวิตเร่งรีบ ทำให้ร้านอาหารเคลื่อนที่แบบนี้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนอเมริกาได้เป็นอย่างดี และสเน่ห์อีกอย่างของ Food Truck คือ การขับตระเวนขายไปเรื่อยๆ ทำให้ผู้คนต่างเฝ้ารอคอยและติดตามร้านค้าสุดอร่อยเหล่านี้ ซึ่งผู้ประกอบการหน้าใหม่หรือ SME ในบ้านเราเริ่มหันมาสนใจธุรกิจประเภทนี้มากขึ้น แต่ที่จริงๆแล้วร้านค้าเคลื่อนที่เหล่านี้ในประเทศไทยมี SME หลายแห่งได้มีไอเดียทันสมัยนำรถมินิทรั๊คมาประยุกต์ดัดแปลงเป็นร้านค้าเคลื่อนที่ แต่ในสมัยก่อนจะมีเพียงรถกาแฟ หรือรถชานมไข่มุก เท่านั้น แต่ปัจจุบันในยุคกระแสที่ Food Truck กำลังเข้ามา ก่อให้เกิดร้านค้าขายอาหารที่หลากหลายประเภทมากขึ้น อาทิ ก๋วยเตี๋ยว เบอร์เกอร์ พิซซ่า หรืออาหารญี่ปุ่นเป็นต้น
ซึ่งคงจะปฎิเสธไม่ได้เลยว่ารถยนต์ที่ SME นิยมนำมาทำ Food Truck เหล่านี้คือรถประเภทมินิทรั๊ค หรือรถกระบะเล็ก เพราะรถประเภทนี้จะมีขนาดกะทัดรัด สามารถขับได้คล่องตัวในสภาพการจราจรที่แออัดในบ้านเรา ใช้พื้นที่จอดน้อย แต่พื้นที่การบรรทุกมาก อีกอย่างที่สำคัญคือกระบะสามารถ เปิดท้ายได้ 3 ด้าน ไม่ติดซุ้มล้อ เหมาะอย่างยิ่งในการดัดแปลงเป็นครัวเคลื่อนที่ได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ต่อเติมหลังคา และเคาน์เตอร์ภายใน พร้อมเดินระบบไฟเข้าไป พร้อมการตกแต่งอีกนิดหน่อย ก็จะได้ Food Truck สุดเก๋ไก๋ออกมาโฉบเฉี่ยวขายได้ทันที ซึ่งถ้าจะให้พูดถึงรถมินิทรั๊คที่ SME นิยมเลือกมามาดัดแปลงในชั่วโมงนี้คงหนีไม่พ้น รถมินิทรั๊คของ ตงฟง มอเตอร์ส เนื่องจากที่ ตงฟง มอเตอร์ส สามารถให้บริการและคำปรึกษา ในการเลือกแบบหลังคา การต่อเติมเพิ่มเติม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และยัง สามารถผ่อนเช่าซื้ออุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ได้พร้อมกันกับรถ เรียกว่าทำให้จบครบได้ในที่เดียว และยังประหยัดอีกด้วยเนื่องจากรถตงฟง ใช้พลังงาน 2 ระบบ ได้แก่แก๊สโซฮอล์และก๊าซแอลพีจี มาตรฐานจากโรงงานยี่ห้อ LOVATO จากประเทศอิตาลีช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย แถมราคารถไม่สูงมาก เริ่มต้นสำหรับทำร้านเคลื่อนที่ในราคาเพียง 400,000 บาท ทำให้ต้นทุนน้อยลง ได้กำไรมากขึ้น คืนทุกเร็วกว่า และรวยเร็วขึ้น!
ข้อดีของธุรกิจประเภทนี้คือ สามารถขับไปจอดขายที่ไหนก็ได้ สามารถย้ายทำเลได้ตามต้องการ ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่หรือค่าเซ้งร้าน ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับที่เดิม ถ้าวันนึงลูกค้าละแวกนั้นเกิดไม่รักหรือยอดขายตกลงก็สามารถย้ายทำเลขายได้ และในแต่ละวันสามารถขับย้ายสถานที่ขายได้หลายแห่งหมุนเวียนกันไป ทำให้รายได้มากขึ้นเป็นการออกไปหาลูกค้าไม่ใช่นั่งรอลูกค้าเข้ามาหา ทำให้ SME หลายรายเกิดปิ๊งไอเดียทำ Food Truck กันมากมาย เกิดเป็นร้านค้าความอร่อยติดล้อขึ้นเป็นอย่างมากในสังคมไทย
ตัวอย่าง Food Truck ที่กำลังโด่งดังในปัจจุบันได้แก่
“แดเนี่ยล ไทเกอร์” (Daniel Thaiger)
ร้านเบอร์เกอร์สไตล์อเมริกัน มีทีเด็ดอยู่ที่เนื้อที่หมักมาเป็นอย่างดี และขนมปังที่กรอบนอกนุ่มใน ทำให้ขายดิบขายดี ลูกค้าแน่นเต็มร้านตลอด ซึ่งสาเหตุหลักที่เจ้าของร้านเลือกรถตงฟงมาทำ Food Truck คือ “ถูกใจการแต่งรถแบบตงฟง ที่สามารถเป็นร้านท้ายกระบะ มีดีไซน์เก๋ เหมือนต่างประเทศ สะดวก และประหยัดเพราะติดแก๊สแอลพีจีจากโรงงาน มีแต่ลูกค้าชอบร้าน บอกว่าน่ารักดี ถ้าร้านนี้นิ่งแล้ว คงต้องถอยอีกคันมาขยายกิจการค่ะ” คุณนวลอนงค์ ฟาซ์โอนี เจ้าของร้านแดเนี่ยลไทเกอร์ กล่าว
“ออน เดอะ โร้ด” (On The Road)
ร้านเบอร์เกอร์สไตล์ Food Truck ที่โด่งดังไม่แพ้กันอีกร้านนี้ ที่เลือกใช้ตงฟง เช่นเดียวกัน คุณปาณิสา เจ้าของร้านเนื้อเบอร์เกอร์พรีเมียมหนาหนุ่ม ที่รอคิวนานกว่าจะได้กิน ได้ให้เหตุผลที่เลือกรถตงฟงมาดัดแปลงเป็น Food Truck ว่า “พอดีสนใจจะออกรถอาชีพมาทำร้านอยู่แล้ว เลือกเทียบอยู่ 3 -4 ยี่ห้อสุดท้ายก็เลือกตงฟง เพระราคาไม่แพง ขนาดกระบะ ใหญ่ พอๆกับปิกอัพปกติ และทำหลังคา เค้าเตอร์ได้ที่เดียวจบ ทำร้านสะดวก จอดที่ไหนก็ขายได้ จะออกอีกคันแน่นอนค่ะ”
ไม่เพียงร้านค้าติดล้อที่โด่งดังเหล่านี้ ยังมีเหล่าคนดังอย่างคุณชูศักดิ์ เอี่ยมสุข หรือคุณโหน่ง ชะชะช่า ดาราตลกชื่อดังแถวหน้าของประเทศที่มีกิจการร้านขายบะหมี่แฟรนไชน์หลายสาขากับ “บะหมี่เกี๊ยวโหน่ง” ก็ได้ให้ความไว้วางใจนำรถตงฟงมาดัดแปลงเป็นร้านขายบะหมี่เคลื่อนที่ อีกเช่นเดียวกัน
ธุรกิจ Food Truck หรือร้านค้าเคลื่อนที่นี้ กำลังเป็นกระแสและผู้คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก มีหลายร้านค้าประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ถ้าผู้ประกอบการหรือ SME หน้าใหม่ท่านไหนสนใจอยากลองมีร้านค้าติดล้อเป็นของตัวเอง สามารถปรึกษาและติดต่อได้ที่ บริษัท ตงฟง มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด โทร.02-978-5640-46, 097-098-4066 หรือเข้าไปดูรถอาชีพแบบอื่นๆได้ที่ Website : http://www.dongfeng.co.th/ Facebook : https://www.facebook.com/DFSK.Thailand
ที่มา: http://www.newsdatatoday.com
ธุรกิจที่ดำเนินงานเกี่ยวกับฟู้ดทรัค (Food Truck Business Network: FTBN)
คือกลุ่มผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับฟู้ดทรัค ตั้งแต่การผลิตรถฟู้ดทรัค ไปจนถึงการขายอาหารไปยังลูกค้า
ธุรกิจที่อยู่ใน FTBN ประกอบด้วย:
1. หมวดยานยนต์ (Automotive)
- ดีลเลอร์รถยนต์ (Car Dealer)
- ธุรกิจรถเช่า (Rentals)
- ธุรกิจประดับยนต์ (Truck Accessories)
- ธุรกิจต่อเติม-ตกแต่งรถ (Truck Builders/Decorcations)
- ธุรกิจซ่อม/บำรุงรถ (Truck Repairs&Maintainance)
- ธุรกิจเคลื่อนย้ายรถ (Vehicle Transport)
2. หมวดบริการทางธุรกิจ (Business Services)
- สถาบันการเงิน (Financial Service)
- ธุรกิจประกันภัย (Insurance Company)
- ธุรกิจสำนักงานบัญชี (Accounting)
- ธุรกิจบริการสื่อโฆษณา (Advertising)
- ธุรกิจบริษัทที่ปรึกษา (Consulting)
- ชมรม/สมาคมที่เกี่ยวข้อง (Club&Association)
- ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ (Design&Printing)
- ธุรกิจที่ปรึกษาทางกฎหมาย (Legal Services)
- ธุรกิจบริการด้านการตลาด (Marketing)
3. หมวดการศึกษา (Education)
- มหาวิทยาลัย (University)
- โรงเรียนสอนทำอาหาร (Culinary Schools)
- โรงเรียนสอนขับรถ (Drivers Education)
- ธุรกิจฝึกอบรมสัมมนา (Training Services)
4. หมวดงานอีเว้นท์ (Event)
- ออร์แกไนเซอร์ (Event Organizers)
- โปรโมทเตอร์ (Event Promoters)
- งานแฟร์ (Trade Fair)
5. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage)
- ธุรกิจอาหารสด/แห้ง (Fresh/Dry Food Supplies)
- ธุรกิจเครื่องดื่ม (Beverage Supplies)
- ธุรกิจอาหารแช่แข็ง (Frozen Food Supplies)
- ธุรกิจวัตถุดิบประกอบอาหาร (Food Ingredient Supplies)
6. หมวดสถานที่ (Location)
- ศูนย์การค้า (Community Mall)
- ตลาดนัด (Flea Market)
- ตลาดสด (Fresh Market)
- ห้างสรรพสินค้า (Department Store)
- สถานที่ท่องเที่ยว (Tourist Attraction)
- เจ้าของสถานที่ (Venues)
7. หมวดการดำเนินงาน (Operations)
- ธุรกิจเสื้อผ้า (Apparel)
- ธุรกิจแคเทอริ่ง (Catering Supplies)
- ธุรกิจการทำความสะอาด (Cleaning Supplies)
- ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ครัว (Equipment Supplies)
- ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า (Electric Appliances)
- ธุรกิจอุปกรณ์ดับเพลิง (Fire Suppression)
- ธุรกิจสินค้าส่งเสริมการขาย (Merchandise)
- ธุรกิจแก๊สและน้ำมัน (Gas Station)
- ธุรกิจแก๊สหุงต้ม (Cooking Gas)
- ธุรกิจบรรจุภัณฑ์อาหารเครื่องดื่ม (Food/Beverage Packaging)
8. หมวดเทคโนโลยี (Technology)
- ธุรกิจจัดทำเว็บไซด์ (Website Service)
- ธุรกิจบริการออนไลน์ (Online Service)
- ธุรกิจแอพพลิเคชั่นมือถือ (Mobile Application)
- ธุรกิจโปรแกรมชำระเงิน (POS: Point of Sales)
- ธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Operator)
- ธุรกิจอุปกรณ์ไอทีและโทรศัพท์มือถือ (IT Devices & Mobile Phone)